ตัวดูดซับออกซิเจน เทียบกับ ตัวดูดความชื้น
สินค้าสองชนิดมีลักษณะบรรจุภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกัน แต่มีความแตกต่างกันอย่างมาก เพื่อความเข้าใจลักษณะของตัวดูดซับออกซิเจน และตัวดูดความชื้น ให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ในที่นี้ เราจะอธิบายความแตกต่างระหว่าง ตัวดูดซับออกซิเจน กับ ตัวดูดความชื้น ดังนี้
ตัวดูดซับออกซิเจน
ตัวดูดซับออกซิเจน หรือ ตัวกำจัดออกซิเจน คือ ซองขนาดเล็กที่มีส่วนประกอบอย่าง แร่เหล็ก ดินเหนียว และเกลือ โดยดินเหนียวจะสร้างความชื้นขึ้นซึ่งเมื่อรวมกับเกลือ จะทำให้เกิดแร่เหล็กและดูดซับออกซิเจน กระบวนการนี้จะเริ่มต้นทันทีที่ซองตัวดูดซับออกซิเจนสัมผัสกับอากาศ โดยทันทีที่สัมผัสกับอากาศ เหล็กจะเกิดปฎิกิริยากับออกซิเจน ก่อตัวเป็นสนิมและปล่อยไนโตรเจนออกมา
ไนโตรเจนช่วยให้อาหารคงความสดได้นานขึ้น และการขาดออกซิเจนในบรรจุภัณฑ์จะช่วยป้องกันไม่ให้มอดและแมลงอื่นๆ มารบกวนอาหาร
ข้อมูลอื่น ๆ ที่ควรรู้เกี่ยวกับตัวดูดซับออกซิเจนคือ:
- หลีกเลี่ยงการทำให้ตัวดูดซับออกซิเจนสัมผัสกับอากาศ หรือได้รับแสงบ่อยครั้งจะทำให้ตัวดูดออกซิเจนเริ่มทำงาน
- เมื่อเปิดบรรจุภัณฑ์ที่แล้ว ให้นำออกมาใช้ตามปริมาณที่ต้องการแล้วเก็บส่วนที่เหลือไว้ในโหลแก้วสูญญากาศ
- เพื่อให้ตัวดูดซับออกซิเจนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหาร
- การเก็บรักษาเกลือและน้ำตาลในระยะยาว ไม่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจน
ตัวดูดซับออกซิเจน มีหลากหลายขนาด โดยทั่วไปจะมีขนาดตั้งแต่ 20 ซีซี ถึง 500 ซีซี สำหรับถังเก็บขนาด 5-6 แกลลอน แนะนำให้ใช้ตัวดูดซับออกซิเจนขนาด 500 ซีซี 2 ซอง ก็เพียงพอแล้ว
ตัวดูดซับออกซิเจนมักใช้กับอาหารที่เน่าเสียได้ง่าย ไเช่น ถั่วและขนมขบเคี้ยว อาหารแห้งที่มีไขมันไม่อิ่มตัว เนื้อสัตว์แปรรูป รมควันและอบแห้ง ผลิตภัณฑ์นม ขนมไหว้พระจันทร์ เครื่องเทศและเครื่องปรุงรส และผลิตภัณฑ์จากแป้ง นอกจากนี้ยังใช้สำหรับอาหารประเภทอื่นๆ เช่น บะหมี่สดและบะหมี่สำเร็จรูป อาหารสัตว์ ขนมปัง ลูกกวาด กาแฟ ชา ผลไม้และผักแห้ง
ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยครั้งเมื่อใช้ตัวดูดซับออกซิเจน
ตัวดูดซับออกซิเจนเริ่มทำงานทันทีที่สัมผัสกับอากาศ ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยครั้งคือการเปิดบรรจุภัณฑ์เร็วเกินไป และไม่วางตัวดูดซับในภาชนะที่ปิดสนิทอย่างรวดเร็ว นี่เป็นปัญหาเนื่องจากบรรจุภัณฑ์จะดูดซับออกซิเจนมากเกินไปและต้องการธาตุเหล็กมากขึ้นเพื่อถนอมอาหาร
ข้อผิดพลาดอีกประการหนึ่งคือ การใช้ตัวดูดซับที่หมดแล้ว ซึ่งสามารถตรวจสอบได้โดยการสังเกตสีของตัวบ่งชี้ บรรจุภัณฑ์ของตัวกำจัดออกซิเจนส่วนใหญ่มีตัวบ่งชี้สีชมพูซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินหากตัวกำจัดออกซิเจนหมดอายุหรือใช้งานไม่ได้แล้ว
วิธีการตรวจสอบอีกวิธีหนึ่งคือการเขย่าซองบรรจุภัณฑ์ หากได้ยินและสัมผัสได้ถึงแป้งฝุ่นแสดงว่ายังใช้ได้ดี แต่ถ้าแข็งหรือเกาะกันเป็นก้อน แสดงดูดซับอิ่มตัวแล้ว แนะนำให้ทิ้ง
จัดเก็บตัวดูดซับอยากดีเสมอ การเก็บที่ดีช่วยลดการสูญเสียตัวดูดซับและยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ข้อดีของตัวดูดซับออกซิเจน
ตัวดูดซับออกซิเจนเป็นที่นิยมด้วยเหตุผลหลายประการ ส่วนที่สำคัญที่สุด:
- ปลอดสารพิษ ปลอดภัยต่อการใช้งานและผ่านการรับรองจาก FDA
- ป้องกันการเปลี่ยนสีและการรบกวนในบรรจุภัณฑ์อาหาร
- รักษาคุณภาพของอาหาร เช่น ชะลอการเปลี่ยนสีในองผักและผลไม้
- รักษาคุณภาพของไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนและน้ำมันไม่ให้เหม็นหืน
- ยืดอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ยาและลดความจำเป็นในการใช้วัตถุกันเสียบางชนิด
ตัวดูดซับออกซิเจนสามารถลดสภาพแวดล้อมที่มีออกซิเจนเหลือ 0.01 เปอร์เซ็นต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการดูดซับออกซิเจนในบรรจุภัณฑ์ ซึ่งช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์หรือเชื้อราในผลิตภัณฑ์จากนม ขนมปัง ถั่ว และผลิตภัณฑ์จากปลา
ข้อเสียของตัวดูดซับออกซิเจน
แม้ว่าตัวดูดซับออกซิเจนจะมีประสิทธิภาพมาก แต่ก็ยังมีข้อบกพร่องบางประการ เช่น
- ใช้กับอาหารที่มีน้ำมันน้อย
- อาจทำให้เกิดพิษจากโบทูลิซึมหากใช้ไม่ถูกวิธี
- สามารถดูดซับออกซิเจนได้ในปริมาณจำกัด
- ใช้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
ตัวดูดซับความชื้น
ตัวดูดซับความชื้น เป็นซิลิคอนไดออกไซด์รูปแบบรูพรุนและสามารถดูดซับได้มากถึง 40% ของน้ำหนักตัวมันเอง ตัวดูดซับความชื้นป้องกันการควบแน่นและทำให้ผลิตภัณฑ์แห้งไม่เปียกถชื้นถึงแม้จะอยู่ในสภาวะอากาศที่ชื้น
สารเคมีนี้ มีความสามารถในการป้องกันความชื้น ช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อรา มักพบตัวดูดความชื้นในถุงกันความชื้น บรรจุภัณฑ์ของวิตามิน กล่องรองเท้า และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ประเภทของตัวดูดความชื้น, สามารถใช้ตัวดูดซับความชื้นในบรรจุภัณฑ์อาหารแห้งเพื่อช่วยรักษาความกรอบและความแข็งของผลิตภัณฑ์ ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวดูดความชื้นได้ที่นี่ และปริมาณการใช้ตัวดูดความชื้นในบรรจุภัณฑ์
สินค้าอื่น ๆ เหมาะที่ใส่ตัวดูดความชื้นในบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ :
- กล้องและอุปกรณ์วิดีโอ
- ดอกไม้แห้ง
- ภาพถ่าย
- ซองปืนและกระป๋องกระสุน
- ยาที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์และที่ต้องสั่งโดยแพทย์
- กล่องเครื่องมือ
- ซองบรรจุเมล็ดพันธุ์
- เอกสารสำคัญ
- ลดการเกิดเชื้อราบนรองเท้า
- กระเป๋าเดินทาง ฯลฯ
ตัวดูดความชื้นนั้นแตกต่างจากตัวกำจัดออกซิเจนตรงที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยการนำเม็ดดูดความชื้นในซอง เกลี่ยให้ทั่วบนถาดอบ แล้วอบเป็นเวลา 15 นาทีที่อุณหภูมิ 79.4°C ในเตาอบ
ความร้อนจากเตาอบจะดูดซับความชื้นจากซองตัวดูดความชื้น ซึ่งจะทำให้ตัวดูดความชื้นกลับมาทำงานอีกครั้ง ควรวางถุงดูดความชื้นไว้ในถุงซิปล็อคเพื่อรักษาความชื้นไว้ และและพร้อมใช้เมื่อต้องการใช้งานอีกครั้ง
วิธีที่น่าสนใจในการตัวดูดความชื้นกลับมาใช้ใหม่ ได้แก่ การป้องกันสนิมบนใบมีดโกน ป้องกันไม่ให้ไอน้ำเกาะกระจกหน้ารถ และป้องกันไม่ให้เมล็ดพันธุ์งอกได้อีกด้วย
ข้อดีของตัวดูดความชื้น
ตัวดูดความชื้น ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายอุตสาหกรรม ความนิยมนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ :
- ไม่ติดไฟ ไม่เป็นพิษ และไม่เกิดปฏิกิริยาทางเคมี
- สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
- เหมาะสำหรับการบรรจุสินค้าแบบธรรมดา
- สามารถดูดซับความชื้น 40% ของน้ำหนัก
- มีหลากหลายขนาดสำหรับการใช้งานที่แตกต่างกัน
- อายุการเก็บรักษาไม่จำกัดเมื่อเก็บไว้ในสภาวะที่เหมาะสม
- ช่วยกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้
ข้อเสียของตัวดูดความชื้น
ข้อเสียบางอย่างในการใช้ตัวดูดความชื้น ควรระวังข้อเสียเหล่านี้:
- ฝุ่นจากเม็ดซิลิกาเจลอาจทำให้เกิดการระคายเคืองและรอยแดงเมื่อสัมผัสกับผิวหนังและดวงตา
- หากหายใจเอาฝุ่นเข้าไปอาจทำให้ปอดระคายเคือง
- เม็ดตัวดูดความชื้นอาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ควรระมัดระวังในการใช้ให้ถูกวิธี
การใช้ตัวดูดความชื้นและตัวดูดซับออกซิเจนร่วมกัน
ห้ามใช้ตัวดูดความชื้นและตัวดูดซับออกซิเจนร่วมกัน ตัวดูดซับออกซิเจนต้องการความชื้นในการทำงาน ในขณะที่ตัวดูดซับความชื้น จะดูดซับความชื้น เมื่อวางในพื้นที่เดียวกัน ซิลิกาเจลจะทำให้ตัวดูดซับออกซิเจนไม่มีประโยชน์ หยุดกระบวนการกระตุ้นเนื่องจากขาดออกซิเจน
บทสรุป
โปรดจำไว้ว่า ตัวกำจัดออกซิเจนจะดูดซับออกซิเจนเท่านั้น ไม่ดูดซับความชื้นหรืออากาศ ในขณะที่ตัวดูดความชื้นจะดูดซับความชื้น เพื่อจำกัดการสัมผัสออกซิเจน ให้ใช้ตัวกำจัดออกซิเจนและยืดอายุความสดของผลิตภัณฑ์อาหารด้วยบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม ในทางกลับกัน ตัวดูดความชื้นจะช่วยเพิ่มอายุของผลิตภัณฑ์ โดยลดระดับความชื้นในอาหารหรือบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ ซึ่งจะช่วยยืดอายุการเก็บรักษา
โปรดดูวิดีโอด้านล่างเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง ตัวดูดซับออกซิเจน และ ตัวดูดความชื้น